วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ตั้งอยู่เลขที่ 1/1 ถนนหลังเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000 โทรศัพท์ 043-2366538 โทรสาร 043-237757 Website : http://www.kvc.ac.th สารบรรณอิเล็คทรอนิกส์ khonkaen 03 มีอาคารตึก 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง, ตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง, ตึก 4 ชั้น จำนวน 4 หลัง, ตึก 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง อาคารหอประชุมอเนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง ขนาดพื้นที่ของวิทยาลัยฯ 12 ไร่ 39 ตารางวา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นเปิดทำการสอน 3 ระดับ คือ ปวช. หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพและ ปวส. หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ประเภทวิชาคหกรรม ประเภทวิชาศิลปกรรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
ความหมายของตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา
เสมาธรรมจักร หมายถึง ความดีงาม
บัลลังก์สิงห์ หมายถึง ความมั่นคง
ศิระประภา (รัศมีเปลวพระพุทธรูป)
ใต้เสมาธรรมจักร หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา
ตัวเลข ๑ (ในรัศมีเปลว) หมายถึง ความล้ำเลิศแห่งปัญญา
ดอกบัวที่บานพ้นน้ำ (ด้านข้างทั้งสอง) หมายถึง การเกิดปัญญา
กนกเปลว (ซึ่งมีต้นกำเนิด มาจากเปลวไฟ) หมายถึง ความสว่างไสวโชติช่วงตลอดเวลา
อักษร ทุ.ส.นิ.ม. ด้านล่าง ซึ่งมาจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ 4 แปลว่า สัจจะของผู้ประเสริฐ มีความหมายว่า
- ทุ. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเป็นทุกข์อันเนื่องจากความขัดแย้งภายในตัวเอง
- ส. สมุทัย เหตุแห่งความทุกข์ อันเนื่องด้วยความดิ้นรนทะยานอยาก
- นิ. นิโรธ ความดับทุกข์ ดับตัณหา ดับความขัดแย้งในตัวเอง ทุกข์เกิดได้ดับเองได้
- ม. มรรค ทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการดับทุกข์เรียกว่า อริยมรรค 8
เส้นโค้งโดยรอบ มีอักษรภาษาไทย อยู่ด้านบนเขียนว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น” และมีอักษรภาษาอังกฤษ อยู่ด้านล่างเขียนว่า “KHONKAEN VOCATIONAL COLLEGE”
ความหมายรวมของตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น คือ ความล้ำเลิศทางปัญญา ต้องอยู่บนรากฐานมั่นคงและดีงาม โอบล้อมด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และความสว่างไสวโชติช่วงของปัญญา ที่ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ความเป็นมาของสถานศึกษา
วันที่ 16 กันยายน 2482 : วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นเริ่มดำเนินการ โดยพระบรรณศาสตร์สาทร (สง่า คุปตารัตน์) ข้าหลวงประจำจังหวัดขอนแก่น ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประถมอาชีพช่างทอผ้า” ซึ่งมีนายเลิศศักดิ์ จิรกุล รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และอาศัยพื้นที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด (โรงเรียนกัลยาณวัตร ปัจจุบัน) เป็นการชั่วคราว
วันที่ 22 กันยายน 2483 : ได้ย้ายไปเรียนที่โรงภาพยนตร์ของพระเสนา และเริ่มเรียนภาคปฏิบัติการทอผ้า
วันที่ 26 มิถุนายน 2484 : ได้ย้ายจากโรงภาพยนตร์มาเรียนที่โรงเรียนสนามบิน
วันที่ 21 ตุลาคม 2484 : ย้ายมาเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 8 ไร่เศษ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงานและบ้านพักครู
ปีพุทธศักราช 2486 : เปิดสอนแผนกการตัดเย็บเสื้อผ้า
ปีพุทธศักราช 2491 : เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างสตรีขอนแก่น
ปีพุทธศักราช 2501 : เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้หลักสูตร 3 ปี
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 2 (2507 – 2514)
ปีพุทธศักราช 2507 : เปิดสอนหลักสูตร ระยะสั้นวิชาชีพต่าง ๆ คือ
1. การตัดเย็บ
2. เสริมสวย
3. บัญชีการค้า
4. พิมพ์ดีด
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 3 (2515 – 2519)
ปีพุทธศักราช 2518 : เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอาชีวศึกษาขอนแก่น" เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ
ปีพุทธศักราช 2519 : เปิดสอนแผนกวิชาพณิชยการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 4 (2520 – 2524)
ปีพุทธศักราช 2520 : เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมโรงเรียนการช่างขอนแก่นกับโรงเรียนอาชีวศึกษาขอนแก่นและเปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ปีพุทธศักราช 2521 : ได้เลื่อนเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 5 (2525 – 2529)
ปีพุทธศักราช 2526 : เปิดสอนแผนกวิชาศิลปะประยุกต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น (นายธีระ รัตนจันทร์) ได้มอบที่ดินด้านริมถนนประชาสโมสร ประมาณ 4 ไร่ เพื่อขยายบริเวณวิทยาลัยฯ รวมเป็นพื้นที่ปัจจุบัน 12 ไร่ 39 ตารางวา
ปีพุทธศักราช 2527 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาวิชาธุรกิจการค้าต่างประเทศ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) จำนวน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาธุรกิจบริการ และสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
ปีพุทธศักราช 2529 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 6 (2530 – 2534)
ปีพุทธศักราช 2530 : ได้รับยกย่องเป็นสถานศึกษาดีเด่น ประเภทวิชาคหกรรม พาณิชยกรรม และศิลปกรรมหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๐ และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาคหกรรม-ศาสตร์ทั่วไป
ปีพุทธศักราช 2532 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคหกรรมธุรกิจ
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 7 (2535 – 2539)
ปีพุทธศักราช 2535 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาคหกรรมธุรกิจ
ปีพุทธศักราช 2536 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม และสาขาวิชาการตลาด และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม
ปีพุทธศักราช 2538 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาการออกแบบ คณะวิชาศิลปกรรม และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการเลขานุการ นอกจากนี้ยังรับนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี
ปีพุทธศักราช 2539 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก โดยความร่วมมือจาก บริษัท ซีพี. เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด ในการฝึกงานนักเรียนนักศึกษา และสาขาวิชาการโรงแรม คณะวิชาคหกรรม โดยได้รับความร่วมมือจาก โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิดขอนแก่น (โรงแรมพลูแมน ในปัจจุบัน) ได้รับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาเขตการศึกษา 9 กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีการศึกษา 2539
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 (2540 – 2544)
ปีพุทธศักราช 2541 : เปิดสอนระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะวิชาบริหารธุรกิจโดยได้รับความร่วมมือกับโรงเรียนภัทรคอมพิวเตอร์ สถาบันพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ฟิวเจอร์คิดคิวซีคอมพิวเตอร์
ปีพุทธศักราช 2542 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการโรงแรม
ปีพุทธศักราช 2542 : ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่จัดจริยธรรมดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2542 เปิดสอนระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี สาขาวิชาบริการธุรกิจสิ่งพิมพ์ และสาขาวิชาการบัญชี ระดับ ปวส. คณะวิชาบริหารธุรกิจ ส่วนสาขาวิชาการโรงแรม ได้รับความร่วมมือจากโรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส และโรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล
ปีพุทธศักราช 2542 : จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self -Access Language Learning Center) ให้บริการกับนักเรียน นักศึกษา บุคลากร เจ้าหน้าที่ ตลอดจนบุคคลภายนอก
ปีพุทธศักราช 2544 : เป็นโรงเรียนนำร่องจัด "โครงการอบรมเยาวชนต้นกล้า" ต่อต้านสิ่งเสพติด
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 9 (2545 – 2549)
ปีพุทธศักราช 2545 : กรมอาชีวศึกษาร่วมกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำสูตร 9 + 1 (การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี + 1 วิชาชีพ) และ 12 + 1 (การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี + 1 วิชาชีพ) โดยวิทยาลัยเปิดสอนทำการสอนวิชาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า และวิชาชีพคอมพิวเตอร์กราฟิก เปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2538 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2545 โดยเริ่มใช้กับนักเรียนนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.1) ในปีการศึกษา 2545 เปิดสอนหลักสูตรระดับ ปวส. ระบบทวิภาคี สาขาวิชาการโรงแรม
ปีพุทธศักราช 2546 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2546 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก นอกจากนี้ได้มีการเปิดสอนในประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในสาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ
ปีพุทธศักราช 2547 : เปิดสอนหลักสูตรทวิภาคีในสาขาวิชาทวิภาคีออกแบบ ทวิภาคีคอมพิวเตอร์และธุรกิจค้าปลีก
ปีพุทธศักราช 2548 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีพุทธศักราช 2549 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ปีพุทธศักราช 2549 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 10 (2550 – 2554)
ปีพุทธศักราช 2550 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ปีพุทธศักราช 2551 : เป็นสถานศึกษาแกนนำภาคตะวันออกเฉียงเหนือนำระบบควบคุมภายใน การเงิน บัญชี พัสดุ และงานวางแผนงบประมาณ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Express
ปีพุทธศักราช 2552 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 11 (2555 – 2560)
ปีพุทธศักราช 2556 : เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ต่อเนื่อง) เป็นการศึกษาระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา
ปีพุทธศักราช 2556 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปีพุทธศักราช 2557 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ปีพุทธศักราช 2558 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน (ต่อเนื่อง) เป็นการศึกษาระบบทวิภาคี
ปีพุทธศักราช 2559 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) Mini Chinese Program (MCP) ในสาขาวิชาการประกอบอาหาร สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการออกแบบ เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาการออกแบบ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ และเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาการบัญชี เป็นการศึกษาระบบทวิภาคี
ปีพุทธศักราช 2560 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE)
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 12 (2561-2565)
ปีพุทธศักราช 2563 : เปิดสอนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีพุทธศักราช 2564 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมอร์ และสาขาธุรกิจการบิน
แผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 13 (2565-2569)
ปีพุทธศักราช 2565 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมอร์ และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการจัดการดูแลผู้สูงอายุ
ปีพุทธศักราช 2566 : เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาโลจิสติกส์ , สาขาธุรกิจเสริมสวย และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน