วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

ข่าวสารภายในองค์กร

วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และ“วันข้าราชการพลเรือน” ประจำปี 2567

ในวันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06.30 น. ดร.กรรณิกา ยอดสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ได้มอบหมายให้ นายศุภลักษณ์ ปอนเกษม รองผู้อำนวยการฝ่าย พัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา นางสาวสุดาพร เสืออินทร์ นายคมกริซ วินทะไชย ร่วมพิธี “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และ“วันข้าราชการพลเรือน” ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมแก่นเมือง ชั้น ๑ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับวัน :
      วันที่  31 มีนาคม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฏาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี และทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 รวมพระชนมายุ 63 พรรษา 11 วัน เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ 25 ปี 7 เดือน 23 วัน ประวัติวันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2330 และด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 กำหนดให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือ “วันเจษฎา” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
      ด้านการปกครอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองบ้านเมืองเสียใหม่ที่กระจัดกระจายให้มาอยู่รวมกัน เพื่อความเป็นระเบียบมากขึ้น และทรงให้สร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีประเทศไทย นอกจากนี้ทรงให้มีการสักและการลงทะเบียนสำรวจจำนวนพลเมือง เพื่อเป็นกำลังรับใช้ชาติและที่ต้องเสียภาษีให้แก่ทางราชการ การปราบปรามโจรผู้ร้าย ปราบจีนตั้วเหี่ย และปราบปรามการค้าฝิ่น ด้านการต่างประเทศ มีการทำสัญญาพระราชไมตรีกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้อังกฤษส่งเรือกำปั่นเข้ามาค้าขายกับไทยมากขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ได้มีการทำสัญญาพระราชไมตรีกับสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับอังกฤษ และมีการทำสัญญาว่าด้วยความเสมอภาคที่ชาวอเมริกันจะเข้ามาทำการค้าขายในเมืองไทย ด้านเศรษฐกิจและการค้า พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งระบบการเก็บภาษี โดยให้เอกชนผู้ได้รับการประมูลไปเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง จึงเรียกผู้เก็บภาษีอากรนี้ว่า เจ้าภาษีหรือนายอากร แล้วพระองค์จึงนำรายได้เหล่านี้มาทำนุบำรุงบ้านเมืองในทุกด้าน และมีเงินจำนวนหนึ่งที่เหลือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เรียกว่า เงินถุงแดง
      ด้านการศึกษา พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาของทุกชนชั้น เห็นได้จากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชนต่างชาติเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ทำให้คณะบาทหลวงและมิชชันนารี (หมอสอนศาสนา) ได้เข้ามาทำการสอนด้วย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดสร้างโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของไทย ปัจจุบันคือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ส่วนสตรีก็ให้มีการเรียนการสอนในวัง ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี ในรัชสมัยของพระองค์ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดีก็เช่นกัน พระองค์ทรงทำนุบำรุงและฟื้นฟูศิลปะในแขนงต่างๆ ด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ถือเป็นยุคแห่งการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามครั้งใหญ่ รวมไปถึงพระบรมมหาราชวังก็ได้รับการบูรณะและก่อสร้างอย่างขนานใหญ่เช่นเดียว กัน ซึ่งสถาปัตยกรรมโดยส่วนใหญ่มีอิทธิพลของจีนเข้ามามาก เนื่องจากทรงค้าขายกับชาวจีนประกอบกับทรงมีพระราชหฤทัยนิยมศิลปะจีนอยู่มาก ด้านประติมากรรม ที่โดดเด่นมาก ได้แก่ การสร้างรูปยักษ์ใหญ่ยืนถือกระบองที่มีความงดงาม เช่น ที่วัดพระแก้วและวัดอรุณฯ และการสลักตัวตุ๊กตาหินประดับไว้ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านี้จะปรากฏอยู่ทั่วไปตามพระอารามต่างๆ ที่ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ เช่น วัดพระเชตุพนฯ วัดพระแก้ว และในพระบรมมหาราชวัง ด้านวรรณคดี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่องด้วยกัน เช่น โคลงปราบดาภิเษก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ส่วนวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ก็มีกวีหลายท่านช่วยกันแต่งขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษามคธ (บาลี) เช่น ปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐิน เป็นต้น
      ด้านการบำรุงพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี ทรงมีพระราชศรัทธาแก่กล้าในบวรพระพุทธศาสนา ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เป็นนิจ อีกทั้งพระองค์ยังส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและได้มีพระบรมราชานุญาตให้ คณะบาทหลวงและมิชชันนารี เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย ส่วนทางพระพุทธศาสนา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปพระพุทธศาสนาขึ้น โดยให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะทรงผนวชอยู่ ได้จัดตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย จนทำให้พระสงฆ์เคร่งครัดในพระธรรมวินัยกันมากขึ้น และด้วยเหตุนี้เอง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ มีต่อปวงชนชาวไทยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชในพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระมหาเจษฎาราชเจ้า แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ แต่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๓๑ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติ คือ วันที่ระลึกมหาเจษฎาบดินทร์พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประกาศให้ข้าราชการและประชาชนประกอบพิธีถวายราชสักการะ โดยมิต้องถือเป็นวันหยุดราชการ กิจกรรม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทยทุกคนร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการวางพานพุ่มถวายบังคมพระบรมรูปของพระองค์ ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (ศาลาเฉลิมไทยเดิม)





พิมพ์   อีเมล

ลิงค์สาขาวิชา

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
สาขาวิชาออกแบบ 
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
สาขาวิชาการโรงแรม
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
สาขาวิชาค้าปลีก
สาขาวิชาท่องเที่ยวฯ
สาขาวิชาธุรกิจการบิน/บริการภาคพื้น
สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
สาขาการจัดประชุมและนิทรรศการ
งานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
งานวิจัยและพัฒนาฯ
งานสื่อการเรียนการสอน
งานทะเบียน วอศ.ขอนแก่น
เว็บไซต์เทคโนโลยีบัณฑิต วอศ.ขก.

นับจำนวนผู้เข้าชมเว็บ

สถิติวันนี้ 325

สถิติเมื่อวานนี้ 674

สถิติสัปดาห์นี้ 3278

สถิติเดือนนี้ 13306

ยอดเข้าชมทั้งหมด 542206

การติดต่อสื่อสาร

  • ที่อยู่ : เลขที่ 1/1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ถ.หลังเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • หมายเลขติดต่อ : 043-236538